ปัจจุบันเรามีความเชื่อกันว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือการปกครองแบบดีที่สุดตอนนี้ ซึ่งแม่แบบในการปกครองแบบประชาธิปไตยนี้ ก็ไม่ใช่ใคร สหรัฐอเมริกานั่นเอง ประเทศไทยเรารับวัฒนธรรมและแนวคิดการปกครองประเทศมาจากสหรัฐอเมริกาค่อนข้างเยอะ เราจะไปดูกันว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเค้ามีระบบการปกครองกันอย่างไร
อำนาจ 3 ประการ
ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ด้านด้วยกัน หนึ่งอำนาจตุลาการ (ศาล) อำนาจบริหาร(ทำเนียบขาว) และอำนาจนิติบัญญัติ (สภา) โดยอำนาจทั้ง 3 ด้านนี้จะเป็นการค้ำยัน ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันด้วย พวกเค้าจะมีการตรวจสอบ คัดค้าน กันและกันอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครมีอำนาจจนล้ำเส้นอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป โดยอำนาจแต่ละฝ่ายก็จะมีการคัดกรอง การทำงาน และการถอดถอนแตกต่างกันไปดังนี้
อำนาจฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดี)
อำนาจฝ่ายบริหาร เปรียบเสมือนผู้คอยออกนโยบายแนวคิดในการพัฒนา และบริหารประเทศ ซึ่งอำนาจตรงนี้จะหมายถึง ท่านประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในด้านนี้ การเข้าสู่ตำแหน่งจะต้องผ่านการเลือกตั้ง (รวมถึงตำแหน่งรองประธานาธิบดีด้วย) ดำรงตำแหน่งครั้งละ 4 ปี ทำหน้าที่ร่างรัฐบัญญัติต่อสภา ดูแลด้านการทหาร (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด) รวมถึงเป็นผู้ทำสนธิสัญญาต่างๆ ด้วย แต่หากเค้าทำหน้าที่ไม่ดี มีความผิดก็อาจจะถูกยื่นถอดถอนได้เหมือนกัน
อำนาจนิติบัญญัติ (สภา)
อำนาจขาที่ 2 นั่นคือ อำนาจนิติบัญญัติ หรือพูดง่ายๆ ว่า สภานั่นเอง สภาของอเมริกาแบ่งออกเป็นสองกลุ่มนั่นคือ กลุ่มสภาล่างหรือ ส.ส. และ สภาสูงหรือ ส.ว. ฝั่งวุฒิสภา (ส.ว.) ประกอบไปด้วยสมาชิก 100 คน (จากการคัดเลือก 2 คนต่อมลรัฐ) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี หน้าที่หลักเป็นการให้ความเห็นชอบ หรือ ปฏิเสธคนที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง ด้านสมาชิกผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน (แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ ประชากรมาก ส.ส. มากตาม) ดำรงตำแหน่งครั้งละ 4 ปี หน้าที่หลักเป็นเรื่องออกกฎหมาย
อำนาจตุลาการ (ศาล)
อำนาจตุลาการ หรือ ศาลนั้น อำนาจหลักคือการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทต่างๆ รวมถึงแก้ไขข้อโต้แย้งทางด้านกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ และ ฝ่ายบริหาร เพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปได้ รวมถึงอำนาจอื่นเพิ่มเติม ประเทศอเมริกาแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ หนึ่งศาลของรัฐบาลกลาง เช่น ศาลอุทธรณ์, ศาลสูงสุด, ศาลภาษี และ ศาลตุลาการ สองศาลมลรัฐ เช่น ศาลมโนสาเร่, ศาลชั้นต่ำ, ศาลอุทธรณ์ ซึ่งแต่ละศาลก็มีความสำคัญ กับหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น ศาลฎีกามีหน้าที่สำคัญในการพิจารณา ตีความ ยับยั้งกฎหมาย ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนการเข้าสู่ตำแหน่งนั้นถ้าเป็นผู้พิพากษาของรัฐบาลกลาง ท่านประธานาธิบดีเป็นคนเลือก แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากสภาสูงด้วย จะเห็นว่าอำนาจ 3 ประการแบบนี้คล้ายกับการปกครอบระบอบประชาธิปไตยบ้านเราเหมือนกัน